Tesla ยนตรกรรมอัจฉริยะแห่งอนาคต

ถ้าพูดถึง tesla คงไม่มีใครไม่รู้จักมันในยุคสมัยนี้ เพราะด้วยการที่มันเป็นหนึ่งในรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ดีที่สุด เเละล้ำสมัยที่สุดในโลกเเต่ใครจะรู้ประวัติของ Tesla จริง ๆ กัรบ้างหล่ะ วันนี้เราจะพาไปดูรถยนต์ Tesla ยนตกรรมแห่งอนาคต

ว่าด้วยเรื่องของยนตรกรรมอัจฉริยะแห่งอนาคต

Tesla นั้นหลาย ๆ คนคงเข้าใจผิดว่า elon musk นั้นเป็นคนก่อตั้งเเต่จริง ๆ เเล้ว Teslaนั้นถูกก่อตั้งโดย Martin Eberhard และ Marc Tarpenning 

เป็นสองนักธุรกิจที่อย่าเปลี่ยนเเปลงรถยนต์สปอร์ตจากรุน้ำมันให้กลายเป็นรถไฟฟ้าหลังจากนั้นอีกหนึ่งปี ทั้งสองคนได้ชักชวน Elon Musk ให้เข้ามาร่วมลงทุนด้วย ตอนนั้น Musk เองก็เป็นเศรษฐีย่อม ๆ คนหนึ่งแล้วหลังจากที่ขาย PayPal ระบบธนาคารออนไลน์ให้แก่ eBay และได้เงินมาร่วม 165 ล้านเหรียญ

จึงไม่แปลกที่บรรดาธุรกิจเกิดใหม่จะเข้ามาหาคนที่มีเงินทุนมากมายเหมือนเขา ซึ่งคนที่ลงทุนก็มักจะลงเงินเพื่อแลกกับการถือหุ้นในบริษัท และปล่อยให้ผู้บริหารชุดเดิมทำงานต่อแต่ดูเหมือน Elon Musk จะชอบโครงการนี้มากเป็นพิเศษ เขาตัดสินใจลงเงินกับ Tesla กว่า 30 ล้านเหรียญ และเข้ามาเป็นประธานบริษัทในปี 2004 อันเป็นจุดเริ่มต้นตำนานของบริษัท Tesla       

พอถึงปี 2010 บริษัทก็ใหญ่พอที่จะพาตัวเองเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ โดยช่วงนั้นมีรายได้รวมอยู่ที่ราวๆ 100 ล้านเหรียญ   ผ่านไปแค่ 8 ปีเท่านั้น รายได้ของบริษัทก็เติบโตขึ้นไปถึงกว่า 21,000 ล้านเหรียญ พร้อมกับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นมาเกือบ 20 เท่านับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่เชื่อหรือไม่ว่า นับตั้งแต่ที่ก้าวสู่การเป็นมหาชน บริษัทยังไม่มีกำไรสุทธิเลยแม้แต่ปีเดียวนั่นก็เพราะว่า ถึงแม้รถยนต์ไฟฟ้าของบริษัทจะขายดีได้เทน้ำเทท่าขนาดไหน แต่ตัว Tesla เองก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ โดยเฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร รวมถึงค่าเสื่อมราคา (บริษัทไหนต้องลงทุนในโรงงานและเครื่องจักรมากๆ จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้สูง) ซึ่งหากเทียบกับแบรนด์รถยนต์ที่คุ้นหน้าคุ้นตากันอย่าง Toyota จะพบว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจะอยู่ที่ราวๆ 10% ของรายได้รวม และค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ราวๆ 5% ของรายได้รวม ในขณะที่ค่าใช้จ่ายทั้งสองส่วนของ Tesla เมื่อเทียบกับรายได้แล้วอยู่ที่ 15% และ 10% ตามลำดับ จึงทำให้ Tesla มีผลรวมสุดท้ายของงบการเงินออกมาเป็นลบ   ถ้าเป็นหุ้นของบริษัทอื่นๆ ที่ผลประกอบการขาดทุนทุกปีขนาดนี้ ร้อยทั้งร้อยจะต้องมีราคาหุ้นที่ตกต่ำ ตามผลประกอบการของบริษัท แล้วทำไมราคาหุ้นของ Tesla จึงยังขึ้นไปสูงได้กว่า 20 เท่านับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ ? 

จริงอยู่ว่า ราคาหุ้นมักจะสะท้อนผลประกอบการของบริษัท แต่ในกรณีของ Tesla นั้น ดูเหมือนนักลงทุนจะให้ความสำคัญกับ “อนาคต” ของบริษัทไม่น้อยไปกว่าผลกำไรขาดทุนที่เคยเกิดขึ้นในอดีต แม้บริษัทจะขาดทุนต่อเนื่อง แต่ Tesla ก็มียอดขายเพิ่มขึ้นทุกปีแบบก้าวกระโดด   นั่นแปลว่า การที่บริษัทขาดทุน ไม่ได้เป็นเพราะไม่มีคนซื้อรถยนต์สุดเท่ของบริษัทมาใช้ แต่เป็นเพราะค่าใช้จ่ายในองค์กรที่ยังสูงอยู่ เนื่องจากเป็นธุรกิจที่ต้องลงทุนสูงมาก แต่ลองคิดดูว่าถ้าถึงวันหนึ่งที่รถยนต์ Tesla เข้ามาตีตลาดรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้มากกว่านี้ ค่าใช้จ่ายต่อการผลิตรถ 1 คันย่อมลดลงตามหลักของการประหยัดจากขนาด (economy of scale) ถ้ารายได้ยังเติบโตได้ในระดับนี้ ถึงจุดหนึ่งสัดส่วนของค่าใช้จ่ายต่างๆ ย่อมลดลงเมื่อเทียบกับรายได้รวม และแน่นอนว่า Tesla ก็จะกลับมามีกำไรได้ 

Tesla จึงเป็นหุ้นที่นักลงทุนเข้าซื้อโดยให้ความสำคัญกับอนาคตมากกว่า อดีตพอสมควร มันอาจจะเสี่ยงไปเสียหน่อยที่เข้าลงทุนในหุ้น ซึ่งมีผลประกอบการติดลบ แต่อย่าลืมว่า การขับรถที่ดีนั้นจะมองแต่กระจกหลังเพียงอย่างเดียวก็คงไม่ได้ เพราะกระจกหน้าก็สำคัญไม่แพ้กัน

สุดยอด Telsa

นี่เป็นเเค่ส่วนนึงของประวัติคร่าว ๆ ของแบรนด์รถอย่าง Tesla ทั้งนี้ Tesla นั้นยังเป็นยนตรกกรรมใหม่ที่ยังมีน้อยเเต่อย่างน้อยที่สุด เราได้เห็นความเก่าหน้าของเทคโนโลยียานยนต์มากขึ้น